สโมสรฟุตบอลเชลซี
สโมสรฟุตบอลเชลซี (อังกฤษ: Chelsea Football Club) เป็นทีมฟุตบอลในอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1905 เคยได้แชมป์ลีกสูงสุดมาแล้ว 4 ครั้ง เป็นแชมป์ เอฟเอคัพ 9 ครั้ง แชมป์ ลีกคัพ 8 ครั้ง, แชมป์ ยูฟ่าคัพ 10 ครั้ง และยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 1 ครั้ง สนามเหย้าของทีมคือ สแตมฟอร์ดบริดจ์ จุผู้ชมได้ 42,449 คน ตั้งอยู่ในเขตชุมชนฟูลัมบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองลอนดอน ทีมฟุตบอลเชลซีไม่ได้ตั้งอยู่ในเขตชุมชนเชลซี แต่ตั้งอยู่บนถนนฟูลัม ซึ่งเป็นถนนที่เชื่อมระหว่างเขตฟูลัมกับเขตเชลซี
![]() | ||||
ชื่อเต็ม | สโมสรฟุตบอลเชลซี | |||
---|---|---|---|---|
ฉายา | ทหารเกษียน (กระทั่งปี 1952) สิงโตน้ำเงินคราม (ปัจจุบัน) | |||
ก่อตั้ง | มี.ค. 10, 1905[1] | |||
สนาม | สแตมฟอร์ดบริดจ์ (ความจุ: 42,449 ที่นั่ง) | |||
เจ้าของ | โรมัน อบราโมวิช | |||
ประธานสโมสร | บรูซ บัค | |||
ผู้จัดการทีม | โชเซ มูรีนโย | |||
ลีก | พรีเมียร์ลีก | |||
2013−14 | พรีเมียร์ลีก, อันดับที่ 1 | |||
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร | |||
ประวัติ
สโมสรฟุตบอลเชลซีก่อตั้งเมื่อ 10 มีนาคม ค.ศ. 1905 ที่ ผับชื่อเดอะไรซิงซัน ตรงข้ามกับสนามแข่งปัจจุบันบนถนนฟูแลม และได้เข้าร่วมกับลีกฟุตบอลในเวลาต่อมา เชลซีเริ่มมีชื่อเสียงภายหลังจากที่ได้รับชัยชนะใน ดิวิชั่น 1 ฤดูกาล 1954–55
ปี 1996 แต่งตั้ง รืด คึลลิต เป็นทั้งผู้เล่นและผู้จัดการทีม เชลซีสามารถคว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ มาครองได้ในยุคของกุลลิทนี้
ปี 1997 เปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น จิอันลูก้า วิอัลลี่ โดยเป็นทั้งผู้เล่นและผู้จัดการทีมในช่วงแรก ในยุคของวิอัลลี่นี้สามารถทำทีมได้แชมป์ลีกคัพ และ ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพและสามารถเข้าถึงรอบรอง"ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพ"ได้เป็นปีทีสองติดต่อกันก่อนที่จะแพ้รีล มายอร์ก้าในปีนั้นทีมที่ได้แชมป์คือ ลาซิโอทีมจากอิตาลีไป ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่มีการจัดการแข่งขัน "ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพ"
ปี 2000 จิอันลูก้า วิอัลลี่ถูกปลดออกจากผู้จัดการทีมและแทนที่ด้วย เคลาดิโอ รานิเอรี เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ ในยุคของรานิเอรีนั้น เชลซีมีผลงานติดห้าอันดับแรกของของพรีเมียร์ลีกอย่างสม่ำเสมอ
มิถุนายน ปี 2003 โรมัน อบราโมวิช เข้าซื้อกิจการต่อจากเคน เบตส์ ในราคา 140 ล้านปอนด์ หลังการเข้าซื้อกิจการของมหาเศรษฐีชาวรัสเซีย เคลาดิโอ รานิเอรีซึ่งเป็นผู้จัดการทีมในขณะนั้นยังคงได้คุมทีมต่อไป ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทีมอย่างมากมาย มีการซื้อนักเตะชื่อดังหลายรายเข้ามาเสริมทีมโดยใช้เงินไปอีกมากมายกว่าร้อยล้านปอนด์ เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลแข่งขันเชลซีไม่คว้าแชมป์ใดมาได้เลย สามารถทำอันดับ 2 ของพรีเมียร์ลีก และ เข้าสู่รอบ 4 ทีมสุดท้ายยูฟ่าแชมเปี้ยนลีก เมื่อจบฤดูกาลแรกหลังจากเข้าซื้อกิจการของมหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ทางทีมจึงได้ปลด เคลาดิโอ รานิเอรี่ ออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีม และได้เซ็นสัญญาให้ โชเซ่ มูรินโญ่ เป็นผู้จัดการทีมต่อมา
ปี 2004 เปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น โชเซ่ มูรินโญ่ ซึ่งสร้างสีสันให้กับวงการฟุตบอลอังกฤษในสมัยนั้นเป็นอย่างมากกับบทสัมภาษณ์และทัศนะของ มูริญโญ่เอง
ปี 2005 ได้เป็นแชมป์พรีเมียร์ลีกครั้งแรกหลังจาก โรมัน อบราโมวิช เข้าซื้อกิจการของสโมสร และครบร้อยปีจากการตั้งสโมสร
ปี 2006 ได้เป็นแชมป์พรีเมียร์ลีกอีกครั้งสองสมัยติดต่อกัน
20 กันยายน ค.ศ. 2007 มูรินโญ่ถูกไล่ออกจากตำแหน่ง หลังจากทำผลงานไม่ดี 3 นัดติดต่อกัน แพ้ แอสตันวิลลา 0-2 เสมอแบล็กเบิร์นโรเวอร์ส 0-0 และไล่ตีเสมอโรเซนบอร์ก 1-1[2] และเปลี่ยนผู้จัดการทีมเป็น อัฟราม แกรนท์
11 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 สิ้นสุดฤดูกาลแรกของ อัฟราม แกรนท์ ไม่สามารถคว้าแชมป์พรีเมียร์ลีกได้ หลังจากรับงาน อัฟราม แกรนท์ พาทีมเชลซีต่อสู้แย่งแชมป์กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จนถึงนัดสุดท้าย แต่ไม่สามารถทำได้โดยนัดสุดท้ายทำได้เพียงเสมอกับ โบลตันวันเดอเรอส์ 1-1 โดยถูกตีเสมอในนาทีสุดท้ายของการแข่งขัน สิ้นสุดฤดูกาลเชลซีทำแต้มได้ 85 แต้ม โดยแชมป์ (แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด) ทำได้ 87 แต้ม
21 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 เข้าชิงแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกเป็นครั้งแรกของสโมสร กับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่กรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย ในเวลา 120 นาทีเสมอกัน 1-1 ต้องเตะลูกจุดโทษตัดสิน เชลซีแพ้ไป 10-9 ประตู
24 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ผู้บริหารสโมสรมีมติปลดอัฟราม แกรนท์ ออกจากตำแหน่ง
1 กรกฎาคม ค.ศ. 2008 สโมสรเชลซีแต่งตั้ง หลุย เฟลิปเป้ สโกลารี่ ขึ้นเป็นกุนซือเชลซีอย่างเป็นทางการ
9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 สโกลารี่ทำผลงานได้ไม่ดี หลังจากนำทีมเสมอต่อ ฮัลล์ 1-1 ตามหลังแมนฯ ยูผู้นำอยู่ 7 แต้ม ผู้บริหารสโมสรได้มีมติปลดออกจากตำแหน่ง
12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 มติสโมสรแต่งตั้ง กุส ฮิดดิ้งค์ ชาวฮอลแลนด์ผู้จัดการทีมชาติรัสเซียเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ โดยฮิดดิ้งค์จะทำหน้าที่ควบ 2 ตำแหน่ง ทั้งผู้จัดการทีมชาติรัสเซียและผู้จัดการเชลซี และกุส ฮิดดิ้งค์ นี้พาเชลชี คว้าแชมป์ เอฟเอ คัพ สมัยที่ 5 โดยเอาชนะเอฟเวอร์ตันในนัดชิงชนะเลิศ
1 มิถุนายน ค.ศ. 2009 สโมสรเชลซีแต่งตั้ง คาร์โล อันเชล็อตติ ขึ้นเป็นกุนซือเชลซีอย่างเป็นทางการ
ปี 2010 ได้แชมป์พรีเมียร์ชิพ นับเป็นแชมป์ลีกสูงสุดสมัยที่ 4
ปี 2010 คว้า ดับเบิ้ลแชมป์ เป็นครั้งแรก ของสโมสร โดยคว้า แชมป์ พรีเมียร์ลีก และ FA-CUP
22 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 คาร์โล อันเชล็อตติ ถูกปลดจากตำแหน่งหลังทำผลงานฤดูกาลที่ 2 ของเขากับเชลซีได้น่าผิดหวัง โดยเชลซีไม่สามารถคว้าแชมป์ได้เลย[3]
22 มิถุนายน ค.ศ. 2011 สโมสรประกาศแต่งตั้ง อังเดร วิลลาส-โบอาส โค้ชชาวโปรตุเกสเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่[4]
4 มีนาคม ค.ศ. 2012 อังเดร วิลลาส-โบอาส ถูกปลดออกจากตำแหน่ง เนื่องจากผลงานไม่ดีตามการคาดหวัง และแต่งตั้งให้ โรแบร์โต ดิ มัตเตโอ เป็นผู้จัดการทีมชั่วคราวจนจบฤดูกาล[5]
5 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 โรแบร์โต ดิ มัตเตโอ ผู้จัดการทีมชั่วคราวของเชลซีได้นำทีมคว้าแชมป์ เอฟเอคัพ ได้เป็นสมัยที่ 7 ของสโมสร โดยชนะ สโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล ไป 2-1 จากลูกยิงของ รามีเรส และ ดร็อกบา[6]
19 พฤษภาคม ค.ศ. 2012 เชลซีคว้าแชมป์ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ได้เป็นสมัยแรก โดยชนะ สโมสรฟุตบอลบาเยิร์นมิวนิก ในการดวลจุดโทษไป 4-3 โดยเสมอในเวลา 1-1 ซึ่งเป็นแชมป์ที่สองในฤดูกาล 2011-12 ของเชลซี[7]
21 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 เชลซีไม่ชนะใครมา 5นัดติดต่อกัน ทั้งในพรีเมียร์ลีกและยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก โรแบร์โต ดิ มัตเตโอ ผู้จัดการทีมของเชลซี จึงถูกปลดออกจากตำแหน่งทันทีหลังจากแพ้ให้กับ สโมสรฟุตบอลยูเวนตุส ด้วยสกอร์ 3-0 ในรอบแบ่งกลุ่มยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก สาเหตุที่ทำให้ถูกปลดอย่างรวดเร็วเนื่องจาก โรมันอับราโมวิช ประธานสโมสร ไม่ชอบสไตล์การทำทีมของ โรแบร์โต ดิ มัตเตโอ ในวันรุ่งขึ้น สโมสรประกาศแต่งตั้ง ราฟาเอล เบนีเตซ โค้ชชาวสเปนเป็นผู้จัดการทีมคนใหม่[8]
ก่อนเริ่มฤดูกาล 2013–14 สโมสรได้ประกาศแต่งตั้งโชเซ่ มูรินโญ่ กลับมาเป็นผู้จัดการทีมอีกครั้ง
สแตมฟอร์ดบริดจ์ (Stamford Bridge) เป็นสนามฟุตบอลแห่งเดียวของเชลซีตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาตั้งอยู่ในเขตฟูแลม ในลอนดอน โดยเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2420 โดยในช่วง 28 ปีแรกที่เปิดใช้ ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของสนามกรีฑาด้วย สนามสแตมฟอร์ดบริดจ์ออกแบบโดยสถาปนิกชาวสก็อต จุคนได้กว่า 42,000 ค
น
สแตมฟอร์ดบริดจ์
สแตมฟอร์ดบริดจ์ (Stamford Bridge) เป็นสนามฟุตบอลแห่งเดียวของเชลซีตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมาตั้งอยู่ในเขตฟูแลม ในลอนดอน โดยเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2420 โดยในช่วง 28 ปีแรกที่เปิดใช้ ได้ใช้เป็นส่วนหนึ่งของสนามกรีฑาด้วย สนามสแตมฟอร์ดบริดจ์ออกแบบโดยสถาปนิกชาวสก็อต จุคนได้กว่า 42,000 ค
น
ทำเนียบผู้จัดการทีม
|
ผลงาน
- แชมป์ ดิวิชั่น 1 เดิม กับ เอฟเอ พรีเมียร์ลีก: 4 ครั้ง
- 1955, 2005, 2006, 2010
- ฟุตบอลลีกดิวิชั่นสอง: 2 ครั้ง
- 1984, 1989
- เอฟเอคัพ: 7 ครั้ง
- 1970, 1997, 2000, 2007, 2009, 2010, 2012[12] (นอกจากนี้แล้วเชลซียังเป็นทีมสุดท้ายที่ได้แชมป์เอฟเอคัพที่สนามเวมบลีย์ (เก่า) และเป็นทีมแรกที่ได้แชมป์เอฟเอคัพที่สนามนิวเวมบลีย์ (เวมบลีย์ใหม่)[13])
- ลีกคัพ: 4 ครั้ง
- 1965, 1998, 2005, 2007
- คอมมูนิตีชิลด์ (เดิมคือ ชาริตีชิลด์)
- 1955, 2000, 2005, 2009
- ฟูลล์ เมมเบอร์ส' คัพ
- 1986, 1990
- ยูฟ่า คัพวินเนอร์สคัพ
- 1971, 1998
- ยูฟ่า ซูเปอร์ คัพ
- 1998
- เอฟเอ ยูธ คัพ
- 1960, 1961, 2008, 2010
- รองแชมป์ฟุตบอลเอฟเอคัพ
- 1951, 1997, 1994
- แชมป์ (มะกิตะ/อัมโบร โทรฟี่)
- 1994, 1997
- ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
- แชมป์ 2012
- รอบรองชนะเลิศ 2004, 2005, 2007, 2009
- รองแชมป์ 2008
- ฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก
- รองแชมป์ 2012
- เวิลด์ ฟุตบอล ชาลเลนจ์
- 2009
สถิติ
- สถิติผู้ชมสูงสุด : ในสแตมฟอร์ด บริดจ์ นัดพบกับอาร์เซน่อล ในวันที่ 12 ตุลาคม ค.ศ. 1958 มีผู้ชมเข้ามาชมถึง 182,905 คน
- สถิติผู้ชมน้อยที่สุด : ในสแตมฟอร์ด บริดจ์ นัดที่พบกับ ลินคอล์น ซิตี้ ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1906 มีผู้ชมเพียง 110 คน
- สถิติชนะสูงสุด : ในนัดพบกับ จิวเนส ฮัทคาเรจ ซึ่งถูกพวกเขาถลุงไปถึง 13-0 ในวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1971
- สถิติชนะสูงสุด : ในนัดพบกับ วีแกน แอดแลนติก ซึ่งถูกพวกเขาถลุงไปถึง 8-0 ในวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ 2010
- สถิติแพ้สูงสุด : ในนัดพบกับ วูล์ฟแฮมตัน วันเดอร์เรอร์ส ที่อัดพวกเขาไป 8-1 ในวันที่ 26 กันยายน ค.ศ. 1953
- ผู้เล่นในลีกสูงสุด : รอนแฮร์ริส, 655 นัด, 1962-80
- สถิติซื้อนักเตะค่าตัวแพงที่สุด : 50 ล้านปอนด์, เฟร์นานโด ตอร์เรส จาก ลิเวอร์พูล, กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2011
- สถิติขายนักเตะแพงที่สุด : 23 ล้านปอนด์, อาร์เยน ร็อบเบน ไป เรอัลมาดริด, สิงหาคม ค.ศ. 2007
- นักเตะที่ทำประตูรวมสูงสุดใน 1 ฤดูกาล :ดิดิเย่ร์ ดร็อกบา , 37 ประตู , 2009-2010
- นักเตะที่ทำประตูรวมสูงสุดในช่วงที่อยู่กับเชลซี : แฟรงค์ แลมพาร์ด, 203 ประตู, 2013
- ยิงประตูรวมมากที่สุดในพรีเมียร์ลีก : 103 ประตู, 2010